วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน


หลักการสำคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ก็คือ การให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544 : คำนำ) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) ..2545 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545 : 6-33) ได้บัญญัติสาระที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการจัดและพัฒนาการศึกษาไว้หลายมาตรา ดังต่อไปนี้
1. หลักการจัดการศึกษา
     มาตรา 8(2) บัญญัติว่า ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
2. การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา
     มาตรา 9(6) บัญญัติว่า ให้ยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
3. หน้าที่ของบิดา มารดา ผู้ปกครอง
     มาตรา 11 บัญญัติว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว
4. หน่วยจัดการศึกษา
     มาตรา 12 บัญญัติว่า นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
5. สิทธิที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองได้รับ
     มาตรา 13 บัญญัติว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
1)การสนับสนุนจากรัฐ  ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้
การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล  
2)เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด3)การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนด   และ มาตรา18(3) บัญญัติว่า การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดใน ศูนย์การเรียนได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่น
6. แนวการจัดการศึกษา
     มาตรา 23 บัญญัติว่า การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ในเรื่องดังต่อไปนี้
1)ความรู้เรื่อง
เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2) ความรู้และทักษะ
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการการบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน3)ความรู้ เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
4)ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่าง
ถูกต้อง
5)ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
7. กระบวนการเรียนรู้
     มาตรา 24(6) บัญญัติว่า ให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดาผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
8. หลักสูตร
     มาตรา 27 วรรคสอง บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวชุมชน สังคม และประเทศชาติ
9. ความเข้มแข็งของชุมชน
     มาตรา 29 บัญญัติว่า ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่างๆเพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ ต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
10. การส่งเสริมหน่วยจัดการศึกษา
     มาตรา 38 บัญญัติว่า ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย
11. การบริหารการศึกษา
     มาตรา 38 วรรคสอง บัญญัติว่า คณะกรรมการการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู ผู้นำทางศาสนา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
12. การบริหารสถานศึกษา
     มาตรา 40 บัญญัติว่า ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาของแต่ละสถานศึกษาและสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
คำว่าการมีส่วนร่วม” (Participation) ถึงแม้ว่าจะเป็นคำที่ใช้กันมานานแล้วแต่ความหมายของคำก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจตรงกัน (Buijs & Galjart. 1982 : 2-3 ; Pearse &Stiefel. 1980 : 24) ชาดิดและคณะ (Shadid and Others. 1982 : 33) ได้สรุปจากการศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมจากสาขาวิชาต่างๆ ว่า ลักษณะของการศึกษาการมีส่วนร่วมส่วนใหญ่ไม่พิจารณาการมีส่วนร่วมในเชิงทฤษฎี แต่เป็นการศึกษารายละเอียดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในลักษณะประยุกต์กับบริบทของการมีส่วนร่วมนั้นๆ เช่น ยาดาฟ (Yadav. 1980 : 87) ให้ความหมายว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การร่วมมือด้วยความตั้งใจและสมัครใจ   ซึ่งกระบวนการความร่วมมือต้องมีความรู้สึกว่าได้ร่วมในการตัดสินใจ ได้ร่วมในการดำเนินงาน  ได้ร่วมในการติดตามประเมินผล หรือ ได้ร่วมรับประโยชน์ แต่สหประชาชาติ (United Nations.1981 : 5) ให้ความหมายของการมีส่วนร่วม (participation) ว่าหมายถึง การสร้างโอกาสให้สมาชิกทุกคนเข้ามามีส่วนช่วยเหลือและเข้ามามีอิทธิพลต่อกระบวนการดำเนินกิจกรรม รวมทั้งมีส่วนได้รับประโยชน์จากผลอย่างเท่าเทียมกัน ส่วน ไวท์ (White. 1982 : 9) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า หมายถึง การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การมี
ส่วนร่วมในการประเมินผล แต่ หวัง (Whang. 1981 : 91-92) ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า หมายถึง กระบวนการในการเข้าไปดำเนินงานของบุคคลหรือของกลุ่มเพื่อได้สะท้อนถึงความสนใจของตน หรือ เพื่อให้การสนับสนุนทางด้านกำลังงานหรือทรัพยากรต่อสถาบัน/ระบบที่ครอบคลุมการดำเนินชีวิตของพวกเขา ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน(2545 : 25) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันโดยเริ่มจาก
การร่วมคิด การร่วมวางแผน การร่วมดำเนินงาน/ปฏิบัติ การร่วมมือกันพบปัญหาหรือเผชิญอุปสรรค พร้อมทั้งแก้ไขให้ลุล่วง การร่วมมือกันพบความสำเร็จ และ การร่วมกันชื่นชมยินดีภาคภูมิใจในความสำเร็จในงานนั้น ซึ่งต่างจาก อรพิน สพโชคชัย (2538 : 2) ที่กล่าวว่า การมีส่วนร่วมโดยทั่วไปจะมีความหมายที่กว้างขวาง สำหรับความหมายในเชิงการพัฒนามักจะหมายความถึง การมีส่วนร่วมของสมาชิกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ในการเข้ามาร่วมมีบทบาทดำเนินงาน แต่การมีส่วนร่วมในความหมายที่กว้างกว่าอาจหมายถึง การเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ โดยตรง ดูจ์ลาห์ (Douglah. 1970 : 89-90) ได้ชี้ให้เห็นว่า ความหมายของการมีส่วนร่วมในบริบทที่ต่างกัน จะให้ความหมายของการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน แต่นักการศึกษาใช้คำนี้ในการอ้างอิงถึงการมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ กิจกรรม หรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
การศึกษา
ส่วนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษานั้น นักการศึกษา เช่นโกรลนิค และ สโลว์เวซิค (Grolnick & Slowiaczek. 1994 : 238) ให้ความหมายว่า เป็นการอุทิศทรัพยากรโดยผู้ปกครองให้กับเด็ก แต่ ซัมชั่น และ ยอนเน่ (ประดิษฐา จันทร์ไทย.2532 : 10 ; อ้างอิงจาก Sumption & Yvonne. n.d.) กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การจัดการศึกษา คือ การที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในโรงเรียน โดยการสนับสนุนด้านความคิดเห็นตัดสินใจ สละแรงงาน และเวลาให้โรงเรียนในการวางแผน การกำหนดนโยบาย การติดต่อสื่อสารระหว่างบ้านและโรงเรียน การแก้ปัญหา พัฒนาสนับสนุนด้านการเงินและการประเมินผลการทำงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ 1)การมีส่วนร่วมอย่างไม่เป็นทางการ 2)การมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการ แต่ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2544 : 30) ให้ความหมายว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับโรงเรียน หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับครูและโรงเรียนในการสร้างสรรค์และพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโตและพัฒนาได้เต็มศักยภาพกล่าวโดยสรุปความหมายของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาโรงเรียนว่าหมายถึง การที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ กิจกรรม หรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหรือการเรียนรู้ให้กับลูกหลานหรือเด็กในอุปการะของตนกับโรงเรียน

ความสำคัญของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
1. พ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตแต่ละชีวิต
     ทารกที่เกิดใหม่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ต้องพึ่งพาพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นระยะเวลายาวนาน (จุมพล หนิมพาณิช. 2539 : 121) การอบรมเลี้ยงดูลูกเป็นโอกาสให้พ่อแม่กับลูกคลุกคลีกันในแบบที่มีการให้และการรับ การคลุกคลีกันนี้ย่อมเกิดผลเป็นพิเศษในการสร้างความสัมพันธ์  พ่อแม่ คือ ต้นเหตุของความสุข  ความทุกข์ทั้งปวงของเด็ก (กรมสุขภาพจิต. 2539 : 4) สายใยความรักความผูกพันระหว่างเด็กกับพ่อแม่เป็นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง มั่นคง และยาวนาน เป็นพลังยิ่งใหญ่ที่ช่วยผลักดันให้การดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ ประสบความสำเร็จได้ ด้านการศึกษาก็เช่นกัน (สำนักงาคณะกรรมการ  การศึกษาเอกชน. 2544 : 3 ; สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544 : คำนำ)  ฉะนั้น หากได้นำเอาพลังความคิด ความเอาใจใส่ และความร่วมรับผิดชอบของผู้ปกครองมาสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้แล้ว ก็จะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพในตัวเด็กนักเรียนที่ยั่งยืน
2. พ่อแม่เป็นครูคนแรก
     บรรทัดฐานสังคมที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติตนตามบทบาทและสถานภาพที่บุคคลมีในขณะใดขณะหนึ่งนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่บุคคลรู้หรือเข้าใจได้เองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่บุคคลต้องได้รับคำแนะนำสั่งสอนจึงจะรู้ได้ (พัทยา สายหู. 2541 : 128-147) คำแนะนำสั่งสอนหรือการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) นี้เป็นการเรียนรู้ทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ (สุพัตราสุภาพ. 2531 : 95) พ่อแม่เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการให้การศึกษาแก่บุตรหลานของตน (สุมน อมรวิวัฒน์. 2543 : คำนำ ; จรรจา สุวรรณทัต. 2545 : 8) ครูคนแรกของเด็กก็คือ แม่และ/หรือพ่อ (รุ่ง แก้วแดง. 2541 : 166) หากขาดการอบรมของพ่อแม่ก็ยากที่จะหาการอบรมอื่นใดมาทดแทนได้
3. พ่อแม่เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด
     พ่อแม่ มีพลัง รวมทั้งความตั้งใจและความปรานีต่ออนาคตของลูกหลานของตนเอง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. 2544 : 3 ; สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544 : คำนำ) เมื่อพิจารณานิเวศวิทยาของผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ พบว่า ครอบครัวอยู่ใกล้ชิดและล้อมรอบตัวเด็กนักเรียนมากที่สุด พ่อแม่จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของเด็กนักเรียน
4. พ่อแม่เป็นครูที่ดีที่สุดในโลก
     ลักษณะเด่นในความเป็นครูของพ่อแม่ที่แตกต่างไปจากครูปกติหรือมากกว่าครูทั่วไป ก็คือ 1)พ่อแม่ให้ความรัก ความเอาใจใส่ ความห่วงใยต่อลูก อย่างมากจนยากที่จะหาความรักของครูอาชีพมาทดแทนได้ 2)พ่อแม่เป็นครูตลอดชีวิต ที่ให้การอบรมสั่งสอนลูกได้ตลอดเวลา ตราบเท่าที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ 3)พ่อแม่เป็นครู 24 ชั่วโมง คือ ไม่ได้เป็นครูเฉพาะใน
เวลาราชการเหมือนครูอาชีพ ลักษณะความเป็นครูของพ่อแม่ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นคุณสมบัติของครูที่ดีที่สุดในโลก (รุ่ง แก้วแดง. 2541 : 172-173)
5. เป็นยุทธศาสตร์สังคมแห่งการเรียนรู้
     พ่อแม่ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้และการเสริมสร้างการเรียนรู้ ทั้งที่บ้าน โรงเรียน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 1 ; รุ่งเรือง สุขาภิรมย์. 2544 : 11) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาจะทำให้สังคมมีแหล่งการเรียนรู้เกิดขึ้นมากมายเพื่อทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้หรือสังคมแห่งปัญญา ที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. 2544 : 11) เช่นเดียวกับแนวคิดของ รุ่ง แก้วแดง (2541 : 172-174) ที่ว่าครอบครัว คือ ศูนย์การเรียน (Learning Center) หากสามารถทำให้ทุกครอบครัวเป็นศูนย์การเรียนได้สำเร็จ จะได้ศูนย์การเรียนในอุดมคติที่มีความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย และความหวังดี  เป็นจุดเชื่อมโยงการถ่ายทอดความรู้ที่สำคัญที่สุด แล้วการที่จะทำให้สังคมไทยเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้ก็จะไม่ไกลเกินฝันอีกต่อไป
6. เป็นยุทธศาสตร์การศึกษาตลอดชีวิต
     การเรียนรู้ในยุคใหม่นั้น มิได้เกิดขึ้นที่โรงเรียนหรือห้องเรียนเท่านั้น แต่เกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวางในสถานที่ต่างๆ แม้แต่ในบ้านก็จัดเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ เพราะความรู้ต่างๆสามารถเรียนรู้ได้เองในเวลารวดเร็ว เข้าใจง่าย โดยผ่านทางสื่อทันสมัยต่างๆ เช่นคอมพิวเตอร์ สื่อมวลชน ฯลฯ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น น่าสนใจมากขึ้น และเกิดประสิทธิภาพได้มากขึ้นด้วย (โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์. 2545 : 32 ;พนม พงษ์ไพบูลย์. 2542 : 15) หากผู้ปกครองจัดบรรยากาศที่บ้านให้เกิดการเรียนรู้หรือเป็นแหล่งเรียนรู้ก็จะทำให้เวลาที่เด็กอยู่นอกโรงเรียนเกิดการเรียนรู้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เป็นการสร้างลักษณะนิสัยในการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในที่สุด (พรชัยภาพันธ์. 2543 : 20) ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย และยังเป็นการศึกษาที่ผสมกลมกลืนไปกับการดำเนินชีวิตอีกด้วย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2543 : (1), 5,15)
7. เป็นยุทธศาสตร์การระดมทรัพยากรทุกส่วนของสังคมเพื่อการจัดการศึกษา
     ผู้ปกครอง คือ แหล่งทรัพยากรของโรงเรียน หากมีการจัดการและประสานงานที่เหมาะสมก็จะนำพลังที่ซ่อนเร้นเหล่านี้ออกมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุตรหลานและโรงเรียนอันเป็นที่รักของพ่อแม่ ผู้ปกครองทุกคน (ศิรินทร์รัตน์ ทองปาน. 2544 : 6 ; โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย. 2545 : 2) ถึงขนาดที่ โกรลนิค และ สโลว์เวซิค (Grolnick & Slowiazek.1994 : 238) ได้ให้นิยามของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง คือ การอุทิศทรัพยากรโดยผู้ปกครองประกอบกับ ครอบครัว ก็คือ ตัวแบบจำลองของชุมชนหรือสังคม (ณรงค์ เส็งประชา.2538 : 87) โดยธรรมชาติ ผู้ปกครองต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชุมชนที่โรงเรียนนั้นๆตั้งอยู่(Parents are a natural link to the communities) (Epstein. 1995 : 702 ; Epstein and
others. 1997 : 4-5; Comer & Haynes. 1991 : 274 ; เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. 2537 : 271) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองจึงเป็นยุทธศาสตร์ในการระดมทรัพยากรทุกส่วนของสังคมเข้ามาช่วยในการจัดการศึกษา (All for Education) ได้โดยง่าย เพราะ การที่ผู้ปกครองส่งบุตรหลานมาให้เรียนที่โรงเรียนก็เท่ากับส่งแก้วตา ดวงใจ ของตนเองมาให้โรงเรียน (สุมน อมรวิวัฒน์.2543 : 43 ; ประเวศ วะสี. 2538 : 8-9)
สรุปก็คือ ครอบครัวเป็นสถาบันที่ก่อให้เกิดจุดเริ่มต้นของแต่ละชีวิต พ่อแม่จึงเป็นครูคนแรกและครูที่ดีที่สุดในโลกของลูก เป็นครูตลอดเวลาและตลอดชีวิตของลูก เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและล้อมรอบตัวเด็กที่สุด เป็นผู้ชี้โลกกว้าง เป็นผู้สร้างภูมิคุ้มกันทั้งร่างกายและจิตใจพ่อแม่ผู้ปกครองมีหน้าที่เตรียมความพร้อมให้ลูกเข้าสู่สังคมภายนอกได้อย่างมั่นใจ จัด
บรรยากาศที่บ้านให้เกิดการเรียนรู้ ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทำให้สังคมมีแหล่งการเรียนรู้เกิดขึ้นมากมายเพื่อทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้หรือสังคมแห่งปัญญาที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ปลูกฝังนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับลูก และเป็นยุทธศาสตร์ในการระดมทรัพยากรทุกส่วนของสังคมเพื่อการจัดการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาของไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจะสำเร็จได้ ก็เพราะการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัด
การศึกษาของโรงเรียนนี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา 
ทฤษฎีขอบเขตทับซ้อนของอิทธิพล (Overlapping Spheres of InfluenceTheory)เอปสไตน์ และคณะ (Epstein and others. 1997 : 71-78) และ เอปสไตน(Epstein. 1995 : 701-712) ได้เสนอทฤษฎีเพื่ออธิบายการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ด้วยทฤษฎีขอบเขตทับซ้อนของอิทธิพล (Overlapping Spheres ofInfluence Theory) โดยมีแนวคิดหลักดังนี้ คือ หากมุมมองของนักการศึกษามองเด็กว่าเป็น นักเรียน”  นักการศึกษานั้นก็จะมองครอบครัวแยกต่างหากจากโรงเรียน นั่นคือ ครอบครัวก็จะถูกคาดหวังให้ทำหน้าที่ไปตามลำพังและทิ้งหน้าที่การจัดการศึกษาของเด็กไว้ให้โรงเรียน แต่หากนักการศึกษามีมุมมองว่านักเรียนเป็นเด็กนักการศึกษานั้นก็จะมองทั้งครอบครัวและชุมชนเป็นเสมือนหุ้นส่วน (Partners) กับโรงเรียนในการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็ก ความเป็นหุ้นส่วนจะตระหนักถึงการแบ่งปันความสนใจ ความรับผิดชอบ เพื่อเด็ก และจะทำงานร่วมกันริเริ่มโครงการที่ดีกว่าเดิม และโอกาสต่างๆ เพื่อเด็ก และความสำเร็จของความเป็นหุ้นส่วนกันนี้ก็คือการดูแล (Care) เด็กซึ่งเป็นแนวคิดหลักพื้นฐาน
เมื่อผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาถึงขนาดเป็นหุ้นส่วนกับโรงเรียนแล้ว  ผู้บริหารโรงเรียนและครูจะริเริ่มบรรยากาศโรงเรียนเสมือนครอบครัว” (family-like school)  มากขึ้นๆ โรงเรียนเสมือนครอบครัวจะต้อนรับทุกๆ ครอบครัว โรงเรียนเสมือนครอบครัวจะกระตุ้นเตือนความเป็นปัจเจกบุคคลของเด็กแต่ละคน และทำให้เด็กแต่ละคนรู้สึกว่าตนเองเป็นคนพิเศษ ในทำนองเดียวกัน ความเป็นหุ้นส่วนนี้ ผู้ปกครองก็จะริเริ่มบรรยากาศครอบครัวเสมือนโรงเรียน” (school-like family) ครอบครัวเสมือนโรงเรียนจะกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนตระหนักว่าตนเป็นนักเรียน ครอบครัวจะเสริมแรงความสำคัญของโรงเรียน การบ้านและกิจกรรม ซึ่งสร้างทักษะ ความรู้สึกสำเร็จให้เด็ก ชุมชนรวมถึงกลุ่มของผู้ปกครองจะทำงานร่วมกัน ริเริ่มโอกาสการเรียนรู้เสมือนโรงเรียน เหตุการณ์ โครงการ ซึ่งเสริมแรง กระตุ้นเตือนให้รางวัลนักเรียน ที่พัฒนาก้าวหน้าด้วยดี มีความคิดริเริ่ม เสียสละ ทำดี ชุมชนก็จะริเริ่มบรรยากาศชุมชนเสมือนครอบครัว” (family-like community) จัดตั้ง บริการ เหตุการณ์เพื่อสนับสนุนเด็ก ครอบครัวก็จะมีจิตใจให้ชุมชน (community-minded families) นักเรียนจะช่วยเพื่อนบ้านของเขาและครอบครัวอื่นๆ แนวคิดโรงเรียนชุมชนก็จะเกิดขึ้น เกิดโครงการบริการ เพื่อเด็ก ผู้ปกครอง และคนอื่นๆ ตลอดเวลา ทั้ง ก่อน ระหว่าง และหลังจาก เวลาทำการปกติของโรงเรียน โรงเรียนและชุมชนก็จะพุดคุยถึงโครงการและบริการที่เป็น มิตรกับครอบครัว(family friendly) เมื่อแนวคิดทั้งหมดนี้รวมเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (learningcommunities) หรือ ชุมชนแห่งความดูแล (care communities) คำต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นทฤษฎีขอบเขตทับซ้อนของอิทธิพล ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ธีระ รุญเจริญ(2545 : 126-127) ที่ว่า ผู้ปกครอง/ครอบครัว ครู/สถานศึกษา และชุมชน/สังคม เป็นองค์ประกอบ 3 ประการที่มีอิทธิพลต่อเด็กและทำให้เด็กนักเรียนมีคุณภาพ ดังภาพประกอบ
สังคม สื่อมวลชน
ชุมชน ฯลฯ

 
วงรี: คุณภาพ
เด็กนักเรียน
ที่มา : ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ
สถานศึกษาในประเทศไทย. หน้า 126.
เอปสไตน์ และคณะ (Epstein and others. 1997 : 3) และ เอปสไตน์ (Epstein.1995 : 702) ได้เสนอทฤษฎีขอบเขตทับซ้อนของอิทธิพลว่าประกอบด้วย 2 โครงสร้าง ดังนี้
1. โครงสร้างภายนอก (External Structure) แสดงถึง 3 บริบทที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก ขอบเขตที่ทับซ้อนนี้ชี้ให้เห็นว่า ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน แบ่งปันความรับผิดชอบกันเพื่อเด็ก ความหลากหลายในแนวทางปฏิบัติ ปรัชญาประวัติศาสตร์ ฯลฯ ทำให้เกิดการทับซ้อนกันมากหรือน้อย การเชื่อมโยงกันของ 3 บริบทนี้มากหรือน้อย การปฏิบัติและการทับซ้อนกันนี้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
2. โครงสร้างภายใน (Internal Structure) แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ว่าจะเกิดก็ต่อเมื่อบุคคลในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน สื่อสารหรือทำงานร่วมกัน โดยเด็กเป็นศูนย์กลางและผู้กระทำ (actor) ปฏิสัมพันธ์นี้ ความเชื่อมโยง/การมีส่วนร่วมของบ้าน โรงเรียน และชุมชนอาจจะอยู่ในระดับสถาบัน (Institutional Level) เช่น ครอบครัว กลุ่มเด็ก นักการศึกษา และชุมชน หรือในระดับปัจเจกบุคคล (Individual Level) เช่น ครู ผู้ปกครอง เด็ก หุ้นส่วนของชุมชนหรือ กลุ่มเล็กๆ เช่นเดียวกับแนวคิดของ รุ่ง แก้วแดง (2541 : 203)

กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในการเรียนรู้ที่บ้าน
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือการฝึกหัด ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงปริมาณความรู้ด้วย(Bell-Gredler. 1989 : 1-8 ; อารี พันธ์มณี. 2534 : 86 ; กาญจนา คุณารักษ์. 2543 : 168 ;ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2543 : 29) และ สภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุดก็คือ บ้าน(Evanthia. 1996 : 435 ; จรรจา สุวรรณทัต. 2545 : 11) การเรียนรู้ที่บ้าน ตามโครงสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน 6 แบบของเอปสไตน์นั้น เอปสไตน์(Epstein. 1995 : 701-705) ก็ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมหรือส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในการเรียนรู้ที่บ้านนั้น เอปสไตน์ (Epstein. 1995 : 704) ได้เสนอตัวอย่างเพื่อนำไปปฏิบัติ ดังนี้
     1. โรงเรียนได้จัดเตรียมข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มทักษะของครอบครัวในทุกวิชาทุกระดับชั้น
     2. โรงเรียนได้มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและการติดตามการบ้านที่บ้าน
     3. โรงเรียนได้มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็กในการปรับปรุงทักษะในแต่ละชั้น และ งานที่โรงเรียนมอบหมาย
     4. โรงเรียนได้จัดให้มีการบ้านที่ให้เด็กต้องปรึกษาหรือปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวเป็นประจำ เพื่อให้ครอบครัวรู้ว่าเด็กได้เรียนอะไรบ้าง
     5. โรงเรียนได้จัดให้มีปฏิทินกิจกรรมให้ผู้ปกครองและนักเรียนเรียนที่บ้าน
     6. โรงเรียนได้จัดให้มีกิจกรรมการอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ที่บ้าน
     7. โรงเรียนได้จัดให้มีการเรียนรู้และกิจกรรมในช่วงปิดเทอม
     8. โรงเรียนได้จัดให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายของนักเรียนและโรงเรียนทุกปี

เอปสไตน์ (Epstein. 1995 : 706) ยังได้คาดหวังผลที่จะได้รับจากกิจกรรมการมีส่วน
ร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในการเรียนรู้ที่บ้าน ดังนี้
1. ผลที่ได้รับต่อผู้ปกครอง คือ
     1.1 ผู้ปกครองได้เรียนรู้วิธีสนับสนุน กระตุ้น และช่วยนักเรียนที่บ้านทุกปี
     1.2 ผู้ปกครองมีการพูดคุยปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องโรงเรียน การเรียน และการบ้าน
     1.3 ผู้ปกครองเข้าใจหลักสูตรในแต่ละปีและสิ่งที่เด็กได้เรียนในแต่ละวิชา
     1.4 ผู้ปกครองได้แสดงความชื่นชมต่อทักษะการสอนของครู
     1.5 ผู้ปกครองตระหนักว่าเด็กเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา
2. ผลที่ได้รับต่อครู
     2.1 ครูได้ปรับปรุงการมอบหมายการบ้านอยู่เสมอ
     2.2 ครูได้เคารพในเวลาของครอบครัว
     2.3 ครูได้ตระหนักว่าต้องช่วยเหลือและเสริมแรงการเรียนรู้ของเด็กโดยเฉพาะครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่คนเดียว ครอบครัวที่มีการศึกษาน้อย ครอบครัวที่ต้องทำงานทั้งพ่อและแม่
     2.4 ครูได้แสดงความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมหรือการสนับสนุนของครอบครัว
สำหรับบริบทของสังคมไทยนั้น กลุ่มงานปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 72)ได้สรุปและสังเคราะห์กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในการเรียนรู้ที่บ้าน ดังนี้
1. ด้านพ่อแม่ผู้ปกครอง
     1.1 จัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เอื้ออำนวยต่อกระบวนการเรียนรู้และการคิดสร้างสรรค์ได้ด้วยตนเอง
     1.2 ถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมตามศักยภาพ
2. ด้านโรงเรียน
     2.1 ให้ความรู้เรื่องการจัดสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็ก
     2.2 จัดกิจกรรมการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมเพี่อให้เด็กได้แสดงออกเช่นเดียวกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2544 : 26-27) ที่เสนอกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนในการเรียนรู้ที่บ้าน ดังนี้
1)การให้ความรัก โดยการเอาใจใส่ดูแล ให้ความสบาย และความปลอดภัย มีความเอื้ออาทรซึ่ง
กันและกัน
 2)การให้ลูกได้มีเวลาส่วนตัว ที่จะทำในสิ่งที่เขาสนใจและแสดงออกอย่างหลากหลาย
3)การให้อิสระทางความคิด การพูดและการกระทำแก่เด็กอย่างเหมาะสม
4)แสดงความสนใจ  หรือชื่นชมในสิ่งที่ลูกนำเสนอหรือการค้นพบสิ่งต่างๆ   แก่ลูกตามควรแก่กรณี
5)มีการอดทนในการรับฟังความคิดเห็นและผลงาน โดยการหลีกเลี่ยงการลงโทษที่ลูกไม่เข้าใจความคิดของตน
6)เสริมสร้างให้ลูกมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความพึงพอใจ และให้การยกย่อง หรือเลือกดูรายการโทรทัศน์ที่มีประโยชน์
7)อ่านหนังสือให้ลูกฟังหรือเลือกดูรายการโทรทัศน์ที่มีประโยชน์โดยให้คำนึงถึงวัยและพัฒนาการเป็นหลัก รวมทั้งให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ลูก
8) กระตุ้นและฝึกทักษะพื้นฐานให้ลูกในแง่มุมต่างๆ อยู่เสมอ
9)ปรับสภาพแวดล้อมที่บ้าน รวมทั้ง  จัดหาอุปกรณ์การเรียนเพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด
10)ตั้งคำถามและฝึกการค้นหาคำตอบด้วยเหตุผลบ่อยๆ
11)พาลูกไปชมนิทรรศการ กิจกรรม และสถานที่สำคัญๆ
12) ฝึกสร้างนิสัยที่ดีให้แก่ลูก เช่น ฝึกให้มีความรับผิดชอบ รู้จักความอดทน รู้จักความสำเร็จและความผิดพลาด  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี รู้จักคุณค่าแท้และคุณค่าเทียมของสิ่งต่างๆ ฯลฯ
13) ตรวจและพัฒนาสุขภาพของลูกอย่างสม่ำเสมอ
14)สนทนาร่วมกับลูก โดยคำนึงถึงความสนใจของลูกเป็นหลักรวมทั้งอธิบายความหมายของสิ่งต่างๆ ด้วยภาษาง่ายๆ สั้นๆ
15)เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก
16)ให้ความร่วมมือกับครู ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกอย่างใกล้ชิด เช่น พบปะครูของลูกอย่างสม่ำเสมอ ให้ข้อเสนอแนะต่อโรงเรียน เป็นต้น
17)ส่งเสริมให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิดวางแผน และตัดสินใจ ด้วยตนเอง
18)จัดเตรียมห้องหรือส่วนหนึ่งของห้องไว้เป็นสัดส่วนรวมทั้งจัดหา เครื่องเล่น และสิ่งพิมพ์ต่างๆ ไว้ให้ลูก
19)เอาใจใส่คำถามและคำตอบของลูกด้วยความอดทน จริงใจที่สุดเท่าที่จะทำได้20)เชื่อและศรัทธาว่าลูกมีความรู้สึกที่ดี
สภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด ก็คือ บ้าน (Evanthia.1996 : 435-438) ครอบครัวแต่ละครอบครัวจึงจัดเป็นสภาพแวดล้อมสำคัญต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของเด็ก ครอบครัวจึงมีอิทธิพลสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งทางความคิด การกระทำ และการเติบโตของเด็ก (จรรจา สุวรรณทัต. 2545 : 12) การจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมหรือส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก เป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่สำคัญอีกกิจกรรมหนึ่ง  นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ..2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) ..2545 มาตรา24(6) กำหนดว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่มีการประสานร่วมมือกับบิดามารดาผู้ปกครองเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ


บรรณานุกรม

กรมสุขภาพจิต. (2539). คู่มือวิทยากรโรงเรียนสำหรับพ่อแม่. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). แผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 8
        (..2540-2544). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
         . (2542). แนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ.
          กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กลุ่มงานปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2543). การสร้างเครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบทบาท
ในการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2544, ตุลาคม). “ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับโรงเรียน,” การศึกษา
ปฐมวัย. 5(4) : 30-37.
เครือข่ายแกนนำ พ่อแม่ผู้ปกครอง และ กลุ่มงานปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ความร่วมมือระหว่างบ้านและโรงเรียน.
กรุงเทพฯ : ถ่ายเอกสาร.
จรรจา สุวรรณทัต. (2545). “ระบบครอบครัวกับระบบสังคม,” ใน ประมวลสาระชุดวิชาจิตวิทยา
ครอบครัวและครอบครัวศึกษา หน่วยที่ 5-7. หน้า 1-44. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานของ
สถานศึกษา ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
นภเนตร ธรรมบวร. (2541).รายงานการวิจัยประกอบการร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
: บทบาทของครอบครัวกับการศึกษา. กรุงเทพฯ : ...
นัยพินิจ คชภักดี. (2545). พัฒนาสมองลูกให้ล้ำเลิศ. กรุงเทพฯ : แปลน พับลิชชิ่ง.
ประเวศ วะสี. (2538, มกราคม). “ยุทธศาสตร์ทางปัญญาแห่งชาติ,” ทิศทางไทย. 10(13) :
ปรีดาวรรณ อินทวิมลศรี. (2541). การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับ
กิจกรรมให้บริการชุมชนของโรงเรียนประชานิเวศฯ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร.
ปริญญานิพนธ์ กศ..(การศึกษาผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ไผท สิทธิสุนทร. (2543 , เมษายน). “บทบาทของผู้ปกครองในโรงเรียน,” สานปฏิรูป.
3(25) : 22-23.
พนม พงษ์ไพบูลย์. (2542 ). “การบริหารการศึกษากระทรวงเดียว,” ใน การบริหารการศึกษา
กระทรวงเดียว. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
_________ . (2542 , ตุลาคม). “ บทบาทใหม่ของโรงเรียนตามแนวทางแห่งพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ,” วิชาการ. 2(10) : 8.
พัทยา สายหู. (2541). ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของสังคม. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.
พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2527, กุมภาพันธ์). “การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง
ของนักเรียนและครู,” รามคำแหง. 9(2): 60-65.
ไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์. (2531, กุมภาพันธ์). “การมีส่วนร่วมของประชาชน,” พัฒนาชุมชน.
27(5) : 24-30.
รุ่ง แก้วแดง และปรีชา คัมภีรปกรณ์. (2541). “การวางแผนด้านบุคลากร,” ใน เอกสารการสอน
ชุดวิชาการวางแผนพัฒนาโรงเรียน หน่วย 1-7. หน้า 211-232. นนทบุรี :มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหาร : หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. (2542). สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้สร้างสมองเด็กให้ฉลาดได้อย่างไร.
กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงเรียนเพื่อการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ กศ..(พัฒนศึกษาศาสตร์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ศิรินทร์รัตน์ ทองปาน. (2544). รูปแบบและบทบาทการมีส่วนร่วมที่พึงประสงค์ของผู้ปกครอง :
ศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ปกครองที่เป็นกรรมการโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ สส..(สังคมสงเคราะห์ทางการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด ฉบับพ่อแม่. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
สุทัศน์ ขอบคำ. (2540). รูปแบบการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ.
ปริญญานิพนธ์ กศ..(การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สุพัตรา สุภาพ. (2531). สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________ . (2539). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2537). “ปัญหาและแนวโน้มเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การบริหารการศึกษา,” ใน สัมมนาปัญหาและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา
หน่วย5-8. หน้า 177-266. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2539). การบริหารโรงเรียนตามแนวทางปฏิรูป
การ ศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
_________ . (2543 ). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์การศาสนา.
_________ . (2543 ). รายงานการวิจัยรูปแบบและพัฒนาการการจัดการศึกษาโดย
ครอบครัวในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
_________ . (2543 ). Partnership for Family Involvement in Education. กรุงเทพฯ :กลุ่มงานการบริการข้อมูลอินเตอร์เน็ต.
_________ . (2544 ). บทบาทเครือข่ายพ่อแม่ ผู้ปกครองและครูในการร่วมพัฒนาการเรียนรู้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544 ). สรุปข้อคิดเห็นเครือข่ายพ่อแม่
ผู้ปกครองเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ.
_________ . (2544 ). สาระสำคัญการปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
_________ . (2544 ). สาระสำคัญที่เกี่ยวกับบทบาทของบิดามารดา ผู้ปกครอง ชุมชนและ
ผู้เรียนตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ. (2536). “มาตรฐานคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษาเอกชน,” การศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ : กรมศาสนา.
อภิญญา เวชยชัย. (2544). รายงานการวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองในการ
พัฒนาการศึกษา. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
อุ่นตา นพคุณ. (2528). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนา,” การศึกษากับ
การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ : กลุ่มศึกษาปัญหาและทิศทางการศึกษาไทย.
อำไพ สุจริตกุล และคณะ. (2533). การอบรมเลี้ยงดูเด็กตามวิถีไทย : การศึกษาเชิงมนุษย์
วิทยา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Berger, E.H. (1995). Parents as Partners in Education. New Jersey : Merrill.
Douglah, M. (1970. May). “Some Perspective on the Phenomenon of Participation,”
Adult Education Journal. 20 (2) : 88-98.
Dusseldorp, V.D. ( 1981). Participation in Planned Development. New York :
Wageninggen.
Epstein, J.L. (1982. July). “Teachers’ Reported Practices of Parent Involvement :
Problems and Possibilities,” The Elementary School Journal. 83(2) : 103-113.
.
Epstein, J.L. & Becker. H.J. (1982. November). “Parent Involvement : A Survey of
Teacher Practices,” The Elementary School Journal. 83(2) : 85-102.
Epstein, J.L. and others. (1997).School, family, community partnerships : Your handbook
for action. Thousand Oaks : Corwin Press.
.Grolnick, S.W. & Slowiaczek, L.M. (1994, December). “Parent’s Involvement in
Children’s Schooling : A Multidimensional Conceptualization and Motivational
Model.,” Child Development. 65 (7) : 237-252.
Shadid, W., Wil P. and others (1982). Access and Participation : A Theoretical
Approach in Participation of the poor in Development. NewYork : McGraw-Hill.
Whitmann, R.F. & Boase, P.H. (1983). Speech Communication : Principles and
Contexts. New York : Macmillan Publishing.