วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ (เริ่มปีภาษี 2556)

เครดิตที่มาจากเวปไซด์ http://www.thai-aec.com/639


ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ (เริ่มปีภาษี 2556)

ช่วงบ่ายๆของวันนี้ (วันที่ 18 ธันวาคม 2555) มี “ข่าวใหญ่” เรื่องการปรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลง โดยทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติมาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมและให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดหวังว่าจะสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้มากขึ้น และปิดช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งมาตรการครั้งนี้จะปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้จาก “5 ขั้นอัตรา” เป็น “7 ขั้นอัตรา” โดยจะใช้บังคับใน “ปีภาษี 2556” ที่จะต้องยื่นรายการในปี 2557 เป็นต้นไปนั่นเอง

- ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี -

เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษี ดังนั้น “บล็อกภาษีข้างถนน” อย่างเราก็ต้องรีบนำข่าวมา Update ให้ฟังกันอย่างฉับไวครับ (เขียนกันข้ามคืนเลยทีเดียว) โดยจากการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีข้างต้น ทำให้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นอัตราภาษีใหม่ ดังนี้ครับ
1. รายได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนเดิม ตามพระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551
2. รายได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 10% >> 5%
3. รายได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท เสียภาษี 10% เหมือนเดิม
4. รายได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 20% >> 15%
5. รายได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20% ตามเดิม
6. รายได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 30% >> 25%
7. รายได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 บาท เสียภาษี 30% ตามเดิม
8. รายได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 37% >> 35%
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อ “อัตราภาษี” ในหลายๆด้าน ดังันั้น ผมขออนุญาตนำมาสรุปง่ายๆในรูปแบบของตารางให้ดูกันแทนครับ เพราะว่าถ้าเขียนเป็นตัวหนังสือแบบนี้ อาจจะทำให้เพื่อนๆหลายท่านไม่เข้าใจว่ามีผลกระทบยังไงบ้าง (รวมถึงตัวผมเอง อ่านแล้วก็งงเองทุกทีเลย แหะๆๆ)
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2556
จากตารางข้างต้นนี้จะเห็นว่า โดยรวมแล้วจะมีอยู่ 4 ช่วงของเงินได้สุทธิที่เสียภาษีลดลง ได้แก่
- รายได้สุทธิในช่วง 150,000 – 300,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 7,500 บาท
- รายได้สุทธิในช่วง 500,001 – 750,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 12,500 บาท
- รายได้สุทธิในช่วง 1,000,001 – 2,000,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 50,000 บาท
- รายได้สุทธิมากกว่า 4,000,000 บาท จะประหยัดภาษีได้เพิ่มขึ้น 2% ของเงินได้สุทธิ (ขึ้นอยู่กับจำนวนของเงินได้)

- เมื่อมีการลดอัตราภาษีแล้ว ใครได้ประโยชน์กันแน่ -

จากตารางข้างต้นนี้ เราจะสังเกตว่า ยิ่งมีเงินได้สุทธิเพิ่มขึ้น จำนวนภาษีที่ประหยัดได้ก็น่าจะมากขึ้น ดังนั้นคนที่มีรายได้สูง (คนรวย) น่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดภาษีมากกว่าคนที่มีรายได้น้อยใช่ไหมครับ แต่ว่าจะเป็นแบบนั้นจริงๆหรือเปล่า เรามาลองดูกันเลย !!!!
เอาล่ะครับ เริ่มต้นจากสมมุติให้คนจำนวน 5 คน มีรายได้สุทธิอยู่ในช่วงที่แตกต่างกันดังนี้
เงินได้สุทธิ
หลังจากนั้นเรามาคำนวณเปรียบเทียบดูว่าแต่ละคนจะต้องเสียภาษีในอัตราเท่าไรและอย่างไรกันต่อเลยครับ ^^
.
.

คนที่ 1 : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ VS เก่า

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
.
.

คนที่ 2 : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ VS เก่า

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
.
.

คนที่ 3 : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ VS เก่า

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
.
.

คนที่ 4 : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ VS เก่า

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
.
.

คนที่ 5 : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ VS เก่า

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
.
.
ผลจากการคำนวณทั้ง 5 คน จะสามารถประหยัดภาษีได้ในจำนวนที่แตกต่างกันออกไป โดยคนที่มีรายได้สูง ก็จะต้องเสียภาษีเยอะเป็นธรรมดา (ถูกแล้ว!!) ซึ่ง “จำนวนภาษี” ของผู้ที่มีรายได้สูงนั้น จะประหยัดได้ในจำนวนที่มากกว่า แต่เมื่อเรานำมาคิดเป็นสัดส่วนเปรียบเทียบกับจำนวนภาษีเดิมแล้ว ปรากฎว่า “คนรวย” กลับประหยัดภาษีได้น้อยกว่า !!!!
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ตารางสรุป : ความแตกต่างของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
จากตารางสรุปข้างต้น เราจะพบว่า คนที่ 1 เป็นผู้ที่มีรายได้สุทธิ 500,000 บาท จะประหยัดภาษีตามอัตราภาษีใหม่ได้ในจำนวนที่น้อยที่สุด คือ เพียงแค่ 7,500 บาท แต่กลับประหยัดภาษีได้ในอัตราที่สูงสุด (21.43%) เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ แต่ในทางกลับกันคนที่ 5 สามารถประหยัดภาษีได้ในจำนวนที่มากที่สุดนั้น (310,000 บาท) กลายเป็นประหยัดภาษีได้ในอัตราที่ต่ำที่สุดเช่นกัน (5.66%)
ดังนั้น คำกล่าวอ้างที่หลายๆคนชอบกล่าวว่า ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการประหยัดภาษีนั้น ทำให้คนที่มีรายได้มากกว่า (คนรวย) สามารถประหยัดภาษีได้มากกว่าคนที่มีรายได้น้อยกว่านั้น จะเป็นความจริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนครับว่ามองในแง่มุมไหน ระหว่าง “จำนวนเงิน” หรือ “สัดส่วน”
เพิ่มเติมเนื้อหา : เนื่องจากมีเพื่อนๆหลายท่านทักท้วงมาว่าควรจะเปรียบเทียบระหว่าง “ภาษีเงินได้ที่ลดลง” กับ “เงินได้สุทธิ” ดูบ้างเพื่อให้ได้มุมมองที่แตกต่างออกไป ผมจึงได้จัดทำตารางเปรียบเทียบเพิ่มเติมออกมาให้พิจารณากันครับ
จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเงินได้สุทธิแล้ว ฝ่ายที่ได้ประโยชน์มากที่สุด คือคนที่ 2 หรือผู้ที่มีเงินได้สุทธิ 1,000,000 บาท จะได้รับผลประโยชน์สูงสุดกว่ากลุ่มคนประเภทอื่นๆ ตามมาด้วยกลุ่มคนที่มีรายได้สูง (คนรวย) ในลำดับต่างๆ โดยคนที่มีรายได้ยิ่งมากก็มีแนวโน้มที่จะประหยัดภาษีได้มากตามไปด้วย
แต่มี “ประเด็นสำคัญ” ที่เราควรนำมาพิจารณาเมื่อนำ “ภาษีที่ลดลง” มาเปรียบเทียบกับ “เงินได้สุทธิ” คือ อัตราภาษีเฉลี่ย (%) ที่ยังแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนที่มีรายได้มากยังคงต้องเสียภาษีมากที่สุด (ในรูปแบบของอัตราภาษีขั้นบันได) โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองว่าจำนวน % ที่คนรวยสามารถประหยัดได้นั้น เรียกว่ายุติธรรมหรือไม่ เพราะโดนเนื้อแท้ของภาษีในลักษณะนี้ก็คือ “ผู้ที่มีรายได้มากยังคงต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย” นั่นเอง
เพิ่มเติมเนื้อหาครั้งที่ 2 : มีแฟนเพจของ “บล็อกภาษีข้างถนน” บางท่านทักท้วงมาว่ายังไม่ได้เปรียบเทียบข้อมูลของคนที่รายได้ประมาณ 300,000 บาทให้ดู ผมเลยทำข้อมูลเปรียบเทียบแยกเป็น 3 กรณีมาให้พิจารณาอีกครั้งครับ โดยจะเห็นว่าสำหรับคนที่มีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทนั้น จะได้รับผลประโยชน์ในการเสียภาษีลดลงสูงสุดถึง 50%
อย่างไรก็ตาม สำหรับผมแล้ว พิจารณาเพียงแต่หลักความจริงที่ว่า “การลดอัตราภาษี” เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ทำให้คนทุกคนได้ประโยชน์ แม้ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกมองตัวเองในแง่มุมที่เราเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเอง หรือมองในแง่ที่เปรียบเทียบกับคนอื่นแล้วกลับรู้สึกว่าตัวเองเสียประโยชน์กันแน่ แต่คนที่เสียผลประโยชน์แน่ๆก็คือ “รัฐ” ซึ่งเราก็ควรจะมาดูกันต่อว่า ทางรัฐบาลเองจะมีมาตรการในการดำเนินการเพื่อรับมือกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
สุดท้ายนี้ก็อยู่ที่ความคิดเห็นของแต่ละคนแล้วล่ะครับ ว่าจะมองในแง่มุมไหน …